วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

สำนักงานบัญชี ปทุมธานี

สำนักงานบัญชี ปทุมธานี กับ ประสบการณ์ กับ นักบัญชีใน สำนักงานบัญชี ปทุมธานี
สำนักงานบัญชีโดยส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีผู้ชำนาญงาน ทางด้านบัญชี เฉพาะทาง นักบัญชีในสำนักงานบัญชีจะมีความชำนาญในการจัดทำบัญชีนั้นๆ และโดยเฉพาะลักษณะของกิจการที่ตนเองได้ผ่านงานมา หาก สำนักงานบัญชี นั้น มีนักบัญชีที่มีประสบการณ์หลายๆด้าน ทำให้สำนักงานบัญชีนั้นจะสามารถรับงานบัญชีได้หลายๆด้านเช่นกัน …

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

งบการเงิน

งบการเงินงบการเงิน (Financial Statement)ความหมายอย่างสั้นงบการเงิน คืออะไร?งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานข้อมูลทางการเงินที่ได้จัดทำขึ้นจากข้อมูลทางการเงินที่กิจการได้จดบันทึกไว้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการ ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลานั้นๆความสำคัญของเรื่องวัตถุประสงค์ของการจัดทำงบการเงินงบการเงินถูกจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ทุกประเภทในการนำไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน ฝ่ายบริหาร บริษัทคู่ค้า ลูกค้าของบริษัทงบการเงินแสดงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารหรือความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารในการบริหารทรัพยากรของกิจการ ผู้ประกอบการสามารถใช้งบการเงินมาประเมินผลการบริหารงานหรือความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนี้อาจรวมถึงการตัดสินใจขายหรือถือเงินลงทุนในกิจการต่อไป หรือแม้กระทั่งการ ตัดสินใจโยกย้ายหรือเปลี่ยนผู้บริหาร ข้อมูลต่างๆในงบการเงินไม่เพียงแต่มีประโยชน์กับผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น บริษัทคู่ค้าลูกค้า และบุคคลอื่นที่สนใจในกิจการซึ่งรวมถึงนักลงทุนภายนอกหากเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนในตลาดหุ้น อีกทั้งรัฐบาลยังใช้ประโยชน์จากงบการเงินในการคำนวณภาษีที่จะเรียกเก็บจากกิจการอีกด้วยระยะเวลาในการจัดทำงบการเงินงบการเงินจัดทำขึ้นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อสนองความต้องการข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินทุกประเภท เนื่องจากผู้ใช้งบการเงินต้องการเปรียบเทียบฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นงบการเงินจึงแสดงข้อมูลของรอบระยะเวลาที่ผ่านมาด้วยเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบผลการ
ความหมายอย่างละเอียดส่วนประกอบของงบการเงินงบการเงินประกอบด้วย1. งบดุล (Balance Sheet)2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement)3. งบกำไรสะสม (Retained Earning Statement)4. งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements)การจำแนกรายการในงบการเงินรายการในงบการเงินสามารถจำแนกได้ 5 ประเภท คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุน (ส่วนของเจ้าของ) รายได้ และค่าใช้จ่าย เมื่อจัดทำบัญชีและรายงานสรุปเป็นงบการเงิน คือ งบดุล และงบกำไรขาดทุนในสิ้นงวดของกิจการแล้ว รายการประเภท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุนจะแสดงในงบดุลอันเป็นงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายจะแสดงในงบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นงบแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งวดที่ 1 : นิยามธุรกิจ: การบัญชีความสัมพันธ์ที่ปรากฏดังภาพข้างบนนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของงบการเงินประเภทต่างๆ โดยเริ่มจากงบดุล 1 มกราคม 25X1 ที่แสดงกำไรสะสมเท่ากับ 380,000 บาท เมื่อ กิจการดำเนินผ่านไป 1 ปี รายการกำไรสะสมของงบดุลจะถูกกระทบด้วยผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา นั่นก็คือกำไรสะสมจะเพิ่มเท่ากับกำไรสุทธิในงวดนั้นหรือลดลงเท่ากับขาดทุนสุทธิในงวดนั้นเช่นกัน และถ้ามีการจ่ายปันผลก็จะหักออกไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นกำไรสะสม ณ 31 ธันวาคม 25X1 จะเพิ่มเท่ากับกำไรสุทธิของงวดหักด้วยเงินปันผลจ่ายที่แสดงในงบกำไรสะสม เท่ากับ 612,000 บาทความสัมพันธ์ของงบกระแสเงินสดกับงบดุล รายการที่จะกระทบก็คือเงินสดที่ปรากฏในงบดุล จากภาพด้านบน เราเริ่มงบดุล 1 มกราคม 25X1 ที่แสดงเงินสดเท่ากับ 40,000 บาท เมื่อ กิจการดำเนินผ่านไปอีก 1 ปี รายการเงินสดของงบดุลจะถูกกระทบด้วยกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามที่แสดงในงบกระแสเงินสดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในกรณีนี้ก็คือเงินสดในงบดุล ณ 31 ธันวาคม 25X1 จะเพิ่มเท่ากับเงินสดสุทธิที่แสดงในงบกระแสเงินสดคือ 15,000 บาท และจะแสดงมูลค่าเงินสดเป็น 55,000 บาทสำหรับงบดุล ณ 31 ธันวาคม 25X1ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ข้อจำกัดในการใช้งบการเงินแต่ละประเภทงบการเงินไม่ได้ให้ข้อมูลทุกประเภทที่ผู้ใช้งบการเงินต้องการในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่แสดงในงบการเงินแสดงถึงผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงมีข้อจำกัดบางประการในการใช้งบการเงินดังต่อไปนี้งบดุล ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญก็คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน สิ่งที่พึงระวังในการอ่านหรือพิจารณานำข้อมูลในงบดุลมาใช้ก็คือ คุณภาพของสินทรัพย์แต่ละรายการ อาทิเช่น สินค้าคงคลังที่ปรากฏในงบดุล อาจจะเป็นสินค้าล้าสมัย มูลค่าที่แท้จริงอาจจะต่ำกว่าที่ปรากฏไว้ในงบดุลนั้นก็ได้ เช่นเดียวกันกับรายการทางสินทรัพย์ถาวรเช่น โรงงาน ที่ดิน หรือเครื่องจักรรายการที่ปรากฏเป็นข้อมูลทางการบัญชี สินทรัพย์ถาวรเหล่านั้นอาจจะเป็นมูลค่าที่ซื้อมาเป็นเวลานานแล้วก็ได้อาจจะไม่สอดคล้องกับมูลค่าในปัจจุบัน เช่น ที่ดิน อาจเป็นมูลค่าที่ซื้อมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท มูลค่าอาจจะน้อยมากๆ ถ้าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเวลาที่ผ่านมานอกจากนั้นสินทรัพย์บางรายการ เช่น ทรัพยากรมนุษย์ หรือตรายี่ห้อที่มีบทบาทต่อการสร้างรายได้ให้กับกิจการก็ไม่ได้ปรากฏในงบดุล
งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่สร้างตามหลักทางการบัญชี จับคู่รายได้กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละงวด โดยไม่ได้คำนึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายนั้นเป็นเงินสดหรือไม่ ดังนั้นมีโอกาสเป็นไปได้ที่กิจการหรือบริษัทขายสินค้าได้มาก และมีกำไรสุทธิในอัตราที่สูงแต่ไม่มีเงินสดเข้ามาในกิจการเลย เพราะการขายเป็นการขายเชื่อ และถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ กิจการนั้นๆอาจจะประสบกับปัญหาขาดเงินสดที่จะไปดำเนินกิจการ เช่น ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานหรือจ่ายดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ อาจส่งผลต่อการล้มละลายของกิจการก็เป็นได้

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

บัตรประกันสังคม

บัตรประกันสังคม หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ
1. ต้องอยู่ในสถานประกอบการที่ไม่ได้รับการลดส่วนเงินสมทบในกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย 2. จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ (โดยแยกหลักเกณฑ์การขอใช้สิทธิไว้ดังนี้)

สิทธิที่ท่านจะได้รับ
1. บริการทางการแพทย์ รวมถึงค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรคตามประกาศสำนักงานเรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิ ใช่เนื่องจากการทำงาน 2. เงินทดแทนการขาดรายได้ 3. การบำบัดทดแทนไต 4. การปลูกถ่ายไขกระดูก 5. ค่าบริการทางการแพทย์กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน)

กรณีเจ็บป่วยทั่วไป
ผู้ประกันตนเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ท่านเลือกตามบัตรรับรองสิทธิหรือ สถานพยาบาลเครือข่ายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ระหว่างที่หยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ใน จำนวนครึ่งหนึ่งของค่าจ้างตามจำนวนวันที่หยุดจริงไม่เกินครั้งละ 90 วัน และไม่เกิน 180 วันในหนึ่งปี หากเจ็บป่วยเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน

หลักฐานที่ต้องใช้แสดงเพื่อขอรับบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาล ได้แก่ บัตรรับรองสิทธิฯ บัตรประจำตัวประชาชน

กรณีทันตกรรม
กรณีทันตกรรม (ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และใส่ฟันเทียม)
ผู้ประกันตนมีสิทธิเข้ารับการบริการทางการแพทย์ ณ สถานพยาบาลใดก็ได้ในกรณี ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน โดยสำรองเงินจ่ายไปก่อนและนำหลักฐานมาขอเบิกเงินคืนได้ในอัตราไม่เกิน 250 บาท/ครั้ง ปีละไม่เกิน 500 บาท และมีสิทธิใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก 1-5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,200 บาท มากกว่า 5 ซี่ ในวงเงินไม่เกิน 1,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้ฐานอคริลิก

หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์กรณีทันตกรรม
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (2-16) - ใบรับรองแพทย์ ใบเสร็จรับเงิน - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาบัตรรับรองสิทธิฯ - กรณีขอรับเงินทางธนาคาร ให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

กรณีคลอดบุตร
หลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์

การตรวจสอบสิทธิ
1. ตรวจสอบว่าผู้ประกันตนเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการที่ได้รับการลดส่วนกรณีคลอดบุตรหรือไม่ ถ้าใช่ให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ 2. ตรวจสอบประวัติการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรของผู้ประกันตน ถ้าเคยใช้สิทธิครบ 2 ครั้งแล้วให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ 3. ตรวจสอบวันที่คลอดบุตร 4. คลอดบุตรก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 ใช้สิทธิตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ลงวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2548 5. คลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ใช้สิทธิตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีคลอดบุตร ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 6. ตรวจสอบการจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่คลอดบุตร ถ้าไม่ครบ 7 เดือนให้วินิจฉัยเป็นกรณีไม่มีสิทธิ

การวินิจฉัย
1. คลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป 1.1 คลอดบุตรที่ใดก็ได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย กรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 12,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง 1.2 กรณีผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์กรณีคลอดบุตรในสถานพยาบาลตามบัตร รับรองสิทธิฯก่อนวันที่ 1 มกราคม 2550 แต่มีการคลอดบุตรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ตั้งแต่เวลา 00.00 น. เป็นต้นไป สถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯยังต้องรับผิดชอบจนสิ้นสุด การรักษาผู้ประกันตนไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล และผู้ประกันตนสามารถนำสูติบัตรมาขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรได้ ให้วินิจฉัยจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายกรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตน ในอัตรา 12,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ (กลุ่ม 15 โรคยกเว้น)
1. โรคจิต ยกเว้น กรณีเฉียบพลัน ซึ่งต้องทำการรักษาในทันทีและระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน 2. โรคหรือประสบอันตรายอันเนื่องมาจากการใช้สารเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด 3. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันในหนึ่งปี 4. การบำบัดไตกรณีไตวายเรื้อรัง (Hemodialysis) ยกเว้น ก) กรณีไตวายเฉียบพลันที่มีระยะเวลาการรักษาไม่เกินหกสิบวัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ ข) กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดในประกาศสำนักงานประกันสังคม 5. การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงาม โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 6. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง 7. การรักษาภาวะมีบุตรยาก 8. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น การปลูกถ่ายไขกระดูก 9. การตรวจใด ๆ ที่เกินความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น 10. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น การปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเณฑ์ที่กำหนด 11. การเปลี่ยนเพศ 12. การผสมเทียม 13. การบริการระหว่างการรักษาตัวแบบพักฟื้น 14. ทันตกรรม ยกเว้น กรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน 15. แว่นตา
สำนักงานบัญชี ปทุมธานี

วิธีเลือกสำนักงานบัญชี


เลือกราคาที่เหมาะสม กับปริมาณของเอกสาร ความยากง่ายของธุรกิจของท่าน ไม่ใช่ว่าราคาแพงจะดีเสมอไป แต่ของถูก ก็หาดียากเสียเหลือเกิน ทำไงดีน้า
เอกสารมากแต่ลงบัญชีง่าย เอกสารง่ายแต่ลงบัญชียาก จะรู้ได้ไงว่าของเราแบบไหนต้องตรวจสอบ เช่น สอบถาม ซักสองสามที่ ที่ได้มา ถามหาจากเพื่อน ชั่งน้ำหนักจาก การพูดคุยให้คำแนะนำ อธิบายประเภทกิจการ ฟังคำตอบ ป้อนคำถาม โอ๊ยปวดหัว เสียเหลือเกิน เอาเป็นว่าเขาพูดแล้วเราพอเข้าใจก็ดีกว่าพูดแล้วเราไม่เข้าใจ ปล.เพราะเขาไม่เข้าใจในบัญชีทำให้พูดแล้วเราไม่เข้าใจ งง งง ผู้เขียนก็ งง
รูปแบบองค์กรว่าทำคนเดียว หรือเป็นนิติบุคล ต้นทุนต่างกันราคาต่างกันความน่าเชื่อถึอต่างกัน ทำคนเดียวแต่มีน้อยเจ้า เราก็เป็นหนึ่ง ทำคนเดียวแต่มีมากเจ้าเราก็เป็นสอง นิติบุคคลมีคนมากพนักงานมากก็ราคาสูงเพราะเข้าต้องเอาเงินเราไปหล่อเลี้ยงองค์กร แต่ขอดีคือ โทร ไปอาจมีคนรับนะครับ อิอิ..บางที่ไม่มีคนรับเลย ก็เคยได้ยินมา ถ้ามองดูแล้ว องค์กรน่าจะได้เปรียบหน่อยๆหรือเปล่า
ของถูกไม่ใช่ไม่ดีเพราะเขาอาจประหยัดต้นทุนได้ด้วยระบบที่เหนือกว่าเจ้าอื่นๆ ทุกๆที่มีขั้นตอนการปฎิบัติไม่เหมือนกัน แต่สุดท้ายก็มีมาตราฐานเดียวที่ใช้วัด คือมาตราฐานบัญชีที่ปฎิบัติโดยทั่วไป หรือเขาคิดราคาได้ถูก เพราะเขาไม่ได้ทำตามขั้นตามตอน น่า..
ความมั่นคงขององค์กร ตรวจดูจากงบการเงินเอาเอง เพราะเราก็ตั้งใจจะใช้บริการกับเขานานๆ แต่เขากับจากเราไปก่อน ตรวจดูจากการส่งงบการเงินที่ กรมพัฒฯไง ลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิก พิมพ์ชื่อ ก็โผล่ มาให้ คิดมากอีก
ความมีอยู่จริงของสถานที่ โทรไปมีคนรับทุกครั้ง ทวงตัง ก็มีคนมาเก็บ แต่พอเอางานคืนก็ไม่มีคนตอบ ตามไปถึงที่ก็มีแต่เลขที่บ้าน แล้วคนที่เราติดต่อไปไหนหนอ
ระยะทางก็มีผลต่อต้นทุนเหมือนกัน เช่น สำนักงานฯ ในเขตของท่านอาจได้ราคาถูกกว่าทางด้านต้นทุนการเดินทางนะครับ หากเลือกที่อยู่ไกลกว่าจะมาถึงก็เหนื่อยเสียแล้ว บ้านเราอากาศร้อนรถติดหงุดหงิด จะถามปัญหาก็เกรงใจเขา ว่าแย่เลย หายใจหอบแหกๆ ตอบก็ไม่ได้ใจความ อยู่ใกล้บริการไม่ดี ก็มี พูดไม่รู้เรื่องก็มี ทำไงดีน่า
มนุษย์สัมพันธ์ กับเรา กับเขา ไม่ใช่ไม่มี มีแต่ไม่ได้ใช้ ไปทะเลาะกับเขาไปทั่ว แต่ก็ไม่ใช้ยอมเขาหมด กับเราเขาอธิบายไม่รู้เรื่องแล้วจะไปอธิบายกับสรรพากรอย่างไร วาา อะไรก็มาตรา อะไรก็มาตรา เราไม่รู้มาตรา ต้องไปเรียนละมั่ง
ความซื่อสัตย์ วัดยากต้องจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมไม่รู้ซิ ถ่ายเอกสารไว้ด้วย ตรวจสอบเอกสารส่งกลับ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ที่จ่ายไปเดือนที่แล้ว ถ้าเขามีให้ก็น่าจะใช้ได้ และถ้าไม่มีละ
ด้านความรับผิดชอบ ต้องวัดจากการทำงานซึ่งต้องให้ระยะเวลาเป็นเครื่องตัดสิน คงไม่มีใครทำงานไม่ผิดพลาด แต่ถ้าพลาดแล้วรู้จักแก้ไขปรับปรุง และรับผิดชอบก็เป็นสิ่งดี
ก่อนตัดสินใจเลือก ถ้าไม่ลำบากก็ไปดูที่ตั้งสำนักงานดีกว่าไหม จะได้อะไรดีๆอีกเพียบสุดท้ายก็ต้องลอง ลองแล้วไม่ดีก็เปลี่ยน เปลี่ยนใหม่ก็ต้องลองใหม่ ลองใหม่แล้วโอ๊ย เบื่อจัง..แต่ถ้ารองแล้วดีก็ดีใจด้วยครับ มาถูกทางแล้ว

บทความจาก หนูจ๋าวิธีเลือกสำนักงานบัญชีปทุมธานี